ผิวหนังเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราทุกคนและทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการป้องกันอันตรายจากพวกแบคทีเรีย, ไวรัส อีกทั้งยัง
มีหน้าที่ช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิ และรับความรู้สึก ผิวหนังเป็นอวัยวะหลักที่ต้องเผชิญ
กับสิ่งแวดล้อมและมลภาวะต่าง ๆ ตลอดเวลา
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฝุ่นละอองดังกล่าวจะส่งผลต่อผิวหนังด้วย โดยผลกระทบที่เกิดกับผิวหนังนี้มี 2 ระยะ ซึ่งการส่ง
ผลกระทบต่อผิวหนังในทั้งสองระยะ จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้น และ ระยะเวลาของการสัมผัสฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1. ผลกระทบแบบเฉียบพลัน
ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าของมนุษย์โดยตรง ทำให้เกิดการ
อักเสบของผิวหนังที่มากขึ้นได้ มีงานวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่า ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 เพียงแค่ 10 ไมโครกรัมต่อ
ลูกบาศก์เมตร ก็สามารถกระตุ้นการอักเสบของผิวหนังได้แล้ว ซึ่งฝุ่นละอองนี้จะทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ
ไป ทั้งในด้านกลไกการป้องกันของผิวหนังจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และการซ่อมแซมผิวหนัง
นอกจากนั้นยังทำลายโปรตีนที่ผิวหนังที่ชื่อ Filaggrin ซึ่งมีหน้าที่เป็นโปรตีนที่ช่วยป้องกันผิวหนัง และเพิ่มการหลั่ง
สาร กระตุ้นการอักเสบที่ผิวหนัง ดังนั้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับฝุ่นละออง PM 2.5 ก็จะเกิดการอักเสบ ระคายเคืองที่ผิวหนังได้
อีกทั้ง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่าง ๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์
ผิวหนัง และ กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรค
ผิวหนังเดิมอยู่ แล้ว เช่นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน สิว ผมร่วง จะทำให้มีการระคางเคือง คันมากขึ้น
ผื่นกำเริบมากขึ้นได้
มีงานวิจัยในต่างประเทศถึงระยะเวลาของการสัมผัส ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่มีต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์โดยทดลองในห้อง
ปฏิบัติการพบว่า เซลล์ผิวหนังมนุษย์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อสัมผัส ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่ 50 ไมโครกรัม
ต่อลูกบาศก์เมตร ที่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป
2. ผลกระทบแบบเรื้อรัง
การสัมผัสกับฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือ
ไปจากปัจจัยด้านการถูกแสงแดดและการสูบบุหรี่ มีงานวิจัยถึงผลของ ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ต่อผิวหนังมนุษย์ในระยะยาว พบ
ว่าฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ ทั้งในกระบวนการสร้างเซลล์ ซึ่งส่งผล
ต่อภาวะความชราของผิวหนัง รวมถึงจุดด่างดำบนชั้นผิวหนังด้วย โดยพบว่ามีการเกิดจุดด่างดำบริเวณใบหน้าเพิ่มมากขึ้น
อีกทั้งยังมีการเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากขึ้นด้วย อีกทั้งยังพบการลดลงของการทำงานในระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังด้วย
ดังนั้นการปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
คนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น สำหรับการดูแลรักษาตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น
มลพิษ PM 2.5 นั้น ควรทราบว่าตัวท่านเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัส ฝุ่นมลพิษ PM 2.5
- กลุ่มที่ความต้านทานของผิวหนังน้อย เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้ผิวหนัง ลมพิษ สะเก็ดเงิน ฯ
หากท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัส ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มี
ปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมาก หรือสัมผัสให้สั้นที่สุด การใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย การทาโลชั่นหรือครีม การชะล้าง
ทำความสะอาดผิวหนัง จะมีส่วนช่วยลดทอนการสัมผัสโดยตรงต่อ ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ได้
ทั้งนี้เรื่องของฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ถือเป็นปัญหาระดับชาติซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วในหลาย ๆ ประเทศ นอกจากประชาชนต้องดูแล
ตนเองให้พ้นจากผลเสียของฝุ่นมลพิษ PM 2.5 แล้ว ประชาชนยังต้องทำความเข้าใจและไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป ศึกษา
ข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ประกอบเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างมีสติและปลอดภัย ด้วยความห่วงใยจาก The Hair Care Professional
----------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-- The Hair Care Profession --
สอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ทั้ง 2 สาขา
Central Festival EastVille | 3rd floor
02 042 2959
Central Plaza Korat | 3rd floor
04 400 1656
FB: The Hair Care Professional
IG : thc_professional
Line : Thc_Professional